คุณกำลังมองหาอะไร?

รมอนามัย ผนึกกำลัง 4 ศูนย์เขตภาคอีสาน สร้างกระแสความรอบรู้ด้านสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่น สู่งาน

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.01.2562
6
0
แชร์
10
มกราคม
2562

กรมอนามัย ผนึกกำลัง 4 ศูนย์เขตภาคอีสาน สร้างกระแสความรอบรู้ด้านสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่น สู่งาน


กรมอนามัย ผนึกกำลัง 4 ศูนย์เขตภาคอีสาน สร้างกระแสความรอบรู้ด้านสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่น สู่งาน มหกรรมส่งเสริมเด็กไทยรอบรู้ด้านสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2562 : Smart Child by Health Literacy NE 2019
วันที่ 9 มกราคม 2562 พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานเปิดงาน \"มหกรรมส่งเสริมเด็กไทยรอบรู้ด้านสุขภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2562 : Smart Child by Health Literacy NE 2019จัดโดย 4 ศูนย์เขตภาคอีสาน กรมอนามัย ประกอบด้วย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น, ศูนย์ฯ8 อุดรธานี , ศูนย์ฯ 9 นครราชสีมา และ ศูนย์ฯ 10 อุบลราชธานี
หวังสร้างกระแสความรอบรู้ด้านสุขภาพและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในวัยเรียนวัยรุ่น วัยรุ่น
ร่วมด้วย ว่าที่ร้อยตรีนิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับ พร้อมคณะผู้บริหารหน่วยงานสาธารณสุข ครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (กพด.) ผู้รับผิดชอบงานวัยเรียน
ระดับจังหวัด และ ระดับอำเภอ รวมถึงเครือข่ายดำเนินงานวัยเรียนวัยรุ่นทั้ง 4 เขตสุขภาพ รวมกว่า 400 คน ณ ห้องประชุมสีมาแกรนด์บอลรูม เอ โรงแรมสีมาธานี จ.นครราชสีมา
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยวิสัยทัศน์เป็นองค์กรหลักของประเทศในการอภิบาลระบบส่งเสริมสุขภาพและระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชนสุขภาพดี มีแผนปฏิรูปโครงสร้าง และมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องคือ การส่งเสริมสุขภาพ 5 กลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยเรียนวัยรุ่น ยังมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ภาวะโภชนาการเกินขาดสารอาหารเรื้อรังส่งผลให้เกิดภาวะเตี้ย ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ทั้งระยะสั้นและระยะยาว การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียนวัยรุ่นอย่างยั่งยืน จึงควรส่งเสริมความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ ให้แก่เด็ก ให้เกิดการเรียนรู้ในการจัดการสุขภาพของตนเอง
ตัดสินใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
และสามารถบอกต่อการจัดการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพแก่บุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาสุขภาพที่เหมาะสม ได้แก่ องค์ความรู้ทางวิชาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความตระหนักด้านสุขภาพและความพร้อมของทรัพยากร ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายภาคการศึกษา การสาธารณสุข ภาคประชาชน องค์กรภาครัฐและเอกชน
นพ.วีรพล กิตติพิบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนคงที่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตสุขภาพที่ 7 เด็กสูงดีสมส่วนมากที่สุดคือร้อยละ 69.9 รองลงมาเป็นเขตสุขภาพที่ 9 ร้อยละ 67.4 ส่วนเขตสุขภาพที่ 8 และ 10 ใกล้เคียงกันคือร้อยละ 66.1 และ 66.0 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาภาวะโภชนาการทั้งเกินและขาด ส่วนใหญ่เด็กอ้วนจะพบมากในเขตเมือง เด็กผอมและเตี้ยจะพบมากในเขตชนบท นอกจากนี้ยังพบปัญหาเด็กวัยเรียนได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ ไม่ครอบคลุมโดยเฉพาะการได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การตรวจคอพอกโดยการคลำคอ และการตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น การตรวจสายตาและการได้ยิน ตลอดจนขาดระบบเชื่อมโยงส่งต่อระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ไม่มีการคืนข้อมูลปัญหาสุขภาพไปยังพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งในการจัดมหกรรมฯ ครั้งนี้ ทุกภาคส่วนจะได้ร่วมกันส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนวัยรุ่นมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ รวมถึงส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในเด็กวัยเรียนวัยรุ่นต่อไป

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน