คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 9 พัฒนาระบบฐานข้อมูลแม่และเด็ก คัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ เขตนครชัยบุรินทร์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

08.11.2561
161
0
แชร์
08
พฤศจิกายน
2561

ศูนย์อนามัยที่ 9 พัฒนาระบบฐานข้อมูลแม่และเด็ก คัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ เขตนครชัยบุรินทร์


ศูนย์อนามัยที่ 9 พัฒนาระบบฐานข้อมูลแม่และเด็ก คัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ เขตนครชัยบุรินทร์
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 นพ.วีรพล กิตติพิบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเรื่อง \"การพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านอนามัยแม่และเด็ก ระบบคัดกรองความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ เขตนครชัยบุรินทร์เพื่อสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการจัดการไปพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ ร่วมด้วย ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กจากสำนักงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ Service plan สาขาสูติกรรม สาขาทารกแรกเกิด ผู้รับผิดชอบสารสนเทศระดับจังหวัดและผู้รับผิดชอบงานระดับโรงพยาบาล NODE สูติกรรม ณ
ห้องประชุมพฤกษ์สาธร ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
นพ.วีรพล กิตติพิบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 กล่าวว่า จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 9 พบว่า ที่ผ่านมาจังหวัด นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางการดำเนินงานและพัฒนาระบบข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ ๙ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง แต่ยังพบ การฝากครรภ์คุณภาพ ห้องคลอดคุณภาพ รวมถึงแนวโน้มการเกิดมารดาเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ปี 2561 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 มีมารดาตายจำนวน 7 ราย สาเหตุการตายมารดาจาก Direct cause (สิ่งที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมโดยตรง) ซึงส่วนใหญ่เป็นโรคทางอายุรกรรม จากการพัฒนาระบบข้อมูลที่ผ่านมา
พบว่าการรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กในบางประเด็นที่สำคัญยังน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นล้วนบ่งชี้ถึงการทำงานเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ อัตราการตกเลือดหลังชนิดการคลอด ทารกตายปริกำเนิด ทารกพิการแต่กำเนิด เป็นต้น
ดังนั้นการจัดประชุมเพื่อพัฒนาและวางแนวทางการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลด้านอนามัยแม่และเด็กเรื่อง
การคลอดแต่ละชนิดของมารดา อัตราการตกเลือดหลังคลอด เด็กเกิดมีชีพ การตายไร้ชีพ
เด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย อัตราการตายของทารก อัตราทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน
อัตราตายทารกปริกำเนิด อัตราทารกตายต่ำกว่า 28 วัน ร้อยละการเลี้ยงลูกนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
และความพิการแต่กำเนิด 5 ชนิด รวมถึงระบบคัดกรองความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์
เพื่อนำมาวางแผนการดำเนินงานให้เหมาะกับสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่
เพื่อยกระดับการดูแลและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้ได้มาตรฐาน ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
ส่งเสริมให้เด็กไทยพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วนต่อไป

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน