กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 แพทย์หญิงทิพา ไกรลาศ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นงานสถานชีวาภิบาล ในระบบหลักประกันสุขภาพ ปี 2568 โดยภก.สายชล พิมพ์เกาะ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา กล่าวว่า การดำเนินงานสถานชีวาภิบาลในชุมชนและองค์กรศาสนา ได้ดำเนินการขับเคลื่อนช่วง 2 ปีที่ผ่านมาในเขตสุขภาพที่ 9 ได้มีการจัดบริการในสถานชีวาภิบาล จำนวน 18 แห่ง ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง(Palliative Care) ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยบริการภาครัฐให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างครอบคลุม สปสช.เขต 9 นครราชสีมาร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 4 จังหวัด ได้แก่ 1) จังหวัดนครราชสีมา 2) จังหวัดบุรีรัมย์ 3) จังหวัดชัยภูมิ 4) จังหวัดสุรินทร์ สนับสนุนการดำเนินงานธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ เพิ่มการเข้าถึงสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของพระสงฆ์ และจัดตั้งศูนย์ประสานงานวิถีพุทธในเขตนครชัยบุรินทร์ จำนวน 4 แห่ง และวัดผ่านการประเมินมาตรฐานสถานชีวาภิบาลในพื้นที่ เขต 9 นครราชสีมา จำนวน 18 แห่ง ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้านสถานชีวาภิบาล ม.3 จำนวน 6 แห่ง เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้านชีวาภิบาล และเพื่อพัฒนาต่อไป จึงได้มีการร่วมวางแผนการยกระดับบริการสุขภาพปฐมภูมิและคลินิกหมอครอบครัว ดังนี้การรวมระบบบริหารการจ่าย
การเพิ่มคุณภาพการจัดบริการและการจ่ายแบบเน้นคุณค่า Value Base Healthcare Value Base Payment เพิ่มการเข้าถึงบริการกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ, ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต/ผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชน และผู้ที่มีปัญหาด้านการเข้าถึงบริการตามบริบทความจำเป็น ในแต่ละพื้นที่ (เช่น คนพิการ, ผู้ต้องขัง, กลุ่มชุมชนแออัดเขตเมือง, คนไร้บ้าน, คนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน เป็นต้น)
เพิ่มสนับสนุนการบริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต รองรับนโยบาย UCEP