กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
วันที่ 9 มกราคม 68 แพทย์หญิงทิพา ไกรลาศ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นประธานในการเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำครูผู้ดูแลเด็กในการขับเคลื่อนการดำเนินงานยกระดับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ 4D ณ ห้องประชุมพฤกษาธร ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 9 – 10 มกราคม 2568 โดยนางชัชฎา ประจุดทะเก หัวหลัวกลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก กล่าวรายงาน โดยผู้เข้าร่วมประชุม onsite ประกอบด้วยผอ.กองการศึกษา นักวิชาการศึกษา ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้รับผิดชอบงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จำนวน 80 คน และประชุมออนไลน์จำนวน 170 user
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ภายใต้บันทึกข้อตกลงการบูรณาการความร่วมมือการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต กลุ่มเด็กปฐมวัย พ.ศ.2565 - 2569 จำนวน 6 กระทรวง ในการพัฒนาและยกระดับ การดูแล ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในช่วง ๑,๐๐๐ วันแรกของชีวิตต่อเนื่องไปจนถึง เด็กอายุ 5 ปี เน้นการดูแลตั้งแต่ในช่วงการตั้งครรภ์ไปจนถึงการดูแลเด็ก ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดสำคัญตัวหนึ่ง ที่จะบอกถึงขีดความสามารถ สติปัญญา ศักยภาพและความสำเร็จของเด็กในอนาคต โดยเน้นการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการของภาคีเครือข่ายระดับตำบล โดยมีการบันทึกความร่วมมือ (MOU) ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ โดยศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา ได้มีการขับเคลื่อนงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) และขับเคลื่อนนโยบายเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก ภายใต้โครงการมหัศจรรย์ ๑๐๐๐ วัน Plus สู่ 2500 วัน เขตสุขภาพ 9 มีศูนย์เด็กเล็กจำนวน 5,443 แห่ง โดยแบ่งเป็น สังกัดกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 3,214 แห่ง กระทรวงมหาดไทยจำนวน 2,175 แห่ง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 51 แห่ง และกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 3 แห่ง โดยในปี 2564 – 2565 มีครูผู้ดูแลเด็กผ่านการอบรม ผู้อำนวยการเล่น (play worker) รวมจำนวน 1,738 คน มีพื้นที่ต้นแบบเล่นเปลี่ยนโลก ครอบคลุมทั้ง 771 ตำบล สะสมรวม 973 แห่ง ในปี 2566 มีการขับเคลื่อนผู้อำนวยการเล่นระดับครอบครัว จำนวน 50 ครอบครัว และปี 2567 ได้พัฒนาต้นแบบการจัดโรงเรียนพ่อแม่ด้านส่งเสริมการเล่นในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จำนวน 4 แห่ง สำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) ปี 2566 ศูนย์อนามัยที่ 9 ร่วมกับสปสช.ขับเคลื่อนงานต้นแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) จำนวน 88 แห่ง (อำเภอละ 1 แห่ง) ร่วมกับศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 ขับเคลื่อนสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้นแบบ Triple – P Plus 4D จำนวน 18 แห่ง ปี 2567 ผลักดันให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ไม่ผ่านเกณฑ์ เข้าอบรมพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพ 4D ร่วมกับกรมอนามัย จำนวน 250 คน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการและผ่านเกณฑ์จำนวน 81 แห่ง ปี 2568 จากข้อมูลการประเมินตนเองในระบบฐานข้อมูลสารสนเทศการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานชาติ พบว่ามีสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ประเมินตนเองไม่ผ่านเกณฑ์ระดับต้น จำนวน 229 แห่ง และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ไม่ประเมินตนเองและประเมินตนเองไม่สมบูรณ์จำนวน 982 แห่ง ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับให้ผ่านเกณฑ์