คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 9 ประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานชีวาภิบาล (ศูนย์/สถานชีวาภิบาล) เขตสุขภาพที่ 9 ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2568

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

15.11.2567
2
0
แชร์
15
พฤศจิกายน
2567
วันนี้ 12 พฤศจิกายน 2567 แพทย์หญิงทิพา ไกรลาศ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงออายุ ร่วมกับศูนย์วิชาการเขตสุขภาพที่ 9 ประสานความร่วมมือเดินหน้างานสถานชีวาภิบาลปี 68 หวังขยายผลเป็นต้นแบบระดับประเทศ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมาจัดประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานชีวาภิบาล (ศูนย์/สถานชีวาภิบาล) เขต ๙ ปีงบประมาณ 2568 โดยมี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หน่วยบริการและศูนย์วิชาการ เช่น สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 9 โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์และหน่วยบริการในเขตพื้นที่ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา และผ่านระบบออนไลน์รวมกว่า 200 คน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นพ.อุดมโชค อินทรโชติ นายแพทย์ชำนาญ การพิเศษ รองประธานคณะกรรมการประเมินการจัดตั้งสถานชีวาภิบาลและกุฏิชีวาภิบาลเขตสุขภาพที่ 9 เป็นประธานการประชุม โดยมี ภก.สายชล พิมพ์เกาะ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์
นพ.อุดมโชค อินทรโชติ กล่าวว่า สถานชีวาภิบาลได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2567 และต่อเนื่องมาจนถึงปี 2568 ที่ผ่านมา เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขก็มีการจัดตั้งศูนย์ชีวาภิบาลครบทุกแห่ง แม้จะมีวิธีการทำงานที่ต่างกันก็มีบทเรียนการทำงานที่นำมาเรียนรู้ร่วมกันได้ เพื่อดำเนินการต่อในอนาคต โดยในปี 68 นี้ เริ่มเห็นความชัดเจนและบทบาทของแต่ละหน่วยงานที่จะมาบูรณาการทำงานด้วยกันทั้งงบประมาณ บุคลากร และทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งการประชุมในวันนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทุกหน่วยงานให้ความสนใจ แสดงถึงความพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปด้วยกัน
ด้าน ภก.สายชล พิมพ์เกาะ รักษาการ ผอ.สปสช.เขต 9 กล่าวถึงการดำเนินงานสถาน ชีวาภิบาลว่า สปสช.พร้อมสนับสนุนให้เกิดบริการตามมาตรฐานการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือของหน่วยบริการและวัดที่ได้ออกแบบมาร่วมกัน มีการทำงานเชื่อมโยงกัน และมีวิธีการจัดการข้อมูลตามแนวทางที่กำหนด โดยดูตามความพร้อมของพื้นที่และผู้ปฏิบัติ ซึ่งมีหลายแห่งสามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดี และขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อตามมาตรา 3 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่กำหนดให้หน่วยหรือองค์กรที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและบริการดูแลแบบประคับประคองและระยะท้าย เป็นสถานบริการสาธารณสุขอื่น และสามารถได้รับการจ่ายชดเชยค่าบริการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขฯ ที่ สปสช.ประกาศกำหนด
ปัจจุบันมีสถานชีวาภิบาลที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 13 แห่ง และขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการตามมาตรา 3 จำนวน 4 แห่ง โดยในปี 2568 คาดว่าทุกหน่วยงานจะร่วมติดตามหนุนเสริมให้วัดที่มีความพร้อมพัฒนาให้เป็นสถานชีวาภิบาลในเขตพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง และยกระดับให้เป็นหน่วยบริการตามมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ต่อไป
นอกจากการประชุมเพื่อวางแผนขับคลื่อนงานชีวาภิบาลร่วมกันแล้ว ที่ประชุมยังได้หารือถึงแนวทางการทำ Living Will ในหน่วยบริการสาธารณสุข เครือข่ายสถานชีวาภิบาล และประชาชน เพื่อเปลี่ยนทัศนคติเรื่องความตายและสร้างความตระหนักในการเตรียมความพร้อมของชีวิตในขณะที่ยังมีสติสัมปชัญญะ เป็นการแสดงเจตจำนงของบุคคลหากเป็นผู้ป่วยระยะท้ายหรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือฉุกเฉิน โดยเชิญชวนให้หน่วยบริการทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 9 เข้าร่วมโครงการ เพื่อรองรับการทำงานของสถานชีวาภิบาลและศูนย์ชีวาภิบาลร่วมกันในอนาคต

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน