คุณกำลังมองหาอะไร?

ศู

ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา จัดประชุมพัฒนาศักยภาพ Child Project Manager : CPM และภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยใช้ DSPM

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

05.01.2567
9
0
แชร์
05
มกราคม
2567
วันที่ 5 มกราคม 2567 แพทย์หญิงทิพา ไกรลาศ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา เป็นประธาน เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ Child Project Manager : CPM และภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยใช้ DSPM ผ่านระบบ Zoom Meeting เพื่อพัฒนาศักยภาพ เสริมพลัง และทบทวนการดำเนินงานให้กับ Child Project Manager ระดับจังหวัดและอำเภอ ให้ได้รับองค์ความรู้เพิ่มเติม สามารถนำไปใช้ในการทำงาน ถ่ายทอดและเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ปฏิบัติงานในที่พื้นที่รับผิดชอบได้ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย Child Project Manager ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และผู้ปฏิบัติงานเด็กปฐมวัย ทั้งจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อำเภอ และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ในเขตสุขภาพที่ 9 มีจำนวนทั้งสิ้น 150 USER และได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรจากโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครรินทร์
เขตสุขภาพที่ 9 มีการขับเคลื่อนงานส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2564 – 2566 พบว่า เด็กได้รับการคัดกรองพัฒนาการ 5 ช่วงอายุ 9, 18, 30 42 และ 60 เดือน คัดกรองครอบคลุมร้อยละ 85.99 87.77 และ 83.38 พบพัฒนาการสงสัยว่าล่าช้า ร้อยละ 25.31 23.41 และ 22.75 เด็กที่ได้รับการคัดกรองพัฒนาการพบสงสัยล่าช้า ได้รับการประเมินพัฒนาการซ้ำภายใน 30 วัน พบร้อยละ 92.0 92.53 และ 89.89 โดยเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า และได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I ได้ร้อยละ 66.88 65.0 และ 73.06 ตามลำดับ และเด็กมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 83.98 86.01 และ 81.19 ตามลำดับ ซึ่งพบว่า ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ที่ต้องได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I ที่ยังพบค่อนข้างน้อย มีเพียงร้อยละ 0.24 ของเด็กทั้งหมดใน 5 ช่วงอายุ ของเขตสุขภาพที่ 9 เท่านั้น รวมถึงเด็ก 0-5 ปี สูงดี สมส่วน สามารถคัดกรองโภชนาการเด็กได้ครอบคลุมมีแนวโน้มลดลง โดยพบร้อยละ 68.14 80.81 และ 77.82 และพบเด็กมีรูปร่างสูงดีและสมส่วนลดลงเช่นกัน คือ ร้อยละ 59.08 54.43 และ 55.03 ตามลำดับ ซึ่งยังไม่ผ่านตามเกณฑ์เป้าหมาย โดยเขตสุขภาพที่ 9 มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัย ผ่านคณะกรรมการ MCH board และคณะอนุกรรมการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัด โดยในกลไกผ่านโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus เขตสุขภาพที่ 9 โดยมีบุคลากรผู้จัดการระบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (Child Project Manager) ระดับจังหวัดและอำเภอ เป็นผู้ดำเนินงานด้านเด็กปฐมวัยที่สำคัญ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาศักยภาพ Child Project Manager ครอบคลุมทุกระดับ แต่พบปัญหามีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายงานจำนวนพอสมควร

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน